ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เวลา 8:30 น. - 15:00 น. ห้อง Plenary Hall 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

หลักการและเหตุผล
          ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) ได้จัดโครงการศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ SMEs ประเทศไทย : บทบาทเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินการศึกษา SMEs ในแต่ละกลุ่มสาขา และแต่ละพื้นที่ใน 4 ภูมิภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบถึงความต้องการด้านการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มหรือยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของ SMEs
          ในการดำเนินการที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) ได้มีการจัดกิจกรรมประชุมระดมความคิดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดเป้าหมายต่าง ๆ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งการสำรวจข้อมูลปฐมภูมิเพื่อเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์ในเชิง ลึกทั้งบทบาททางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถบอกได้ถึงลักษณะ (Characteristics) หรืออัตลักษณ์ (Identity) ของ SMEs ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่การปรับบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การสนับสนุนและส่งเสริม SMEs ทั้งในส่วนรายพื้นที่ และรายสาขา ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งสาธาณชนได้ทราบถึงผลการศึกษาในโครงการดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงจัดให้มีการสัมมนาเพื่อนำ เสนอผลการศึกษา และการกำหนดทิศทางของ SMEs ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “ผสานเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ”

          วัตถุประสงค์
          1. เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาที่ได้รับจากการดำเนินโครงการศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ SMEs ประเทศไทย ทั้งบทบาททางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และภาพอนาคตของ SMEs ไทย ตลอดจนทิศทางการส่งเสริม SMEs ของประเทศ 
          2. เพื่อให้ความรู้และแนวคิดในการประกอบธุรกิจกับ SMEs ไทย เพื่อให้สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของตน
          3. เพื่อให้ได้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SMEs อันจะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการปรับบทบาทหรือการดำเนินภารกิจในด้านการส่ง เสริมหรือกำหนดทิศทางของ SMEs ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          วันที่สัมมนา : วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2553

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น.          ลงทะเบียน

09.30 – 10.00 น.           กล่าวเปิดงานสัมมนา และปาฐกถาพิเศษ : บทบาทของภาครัฐกับการนำวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ 
                                        โดย พณฯท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
10.00 – 11.10 น.           นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ SMEs ประเทศไทย: บทบาทเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 
                                        โดย คุณยุทธศักดิ์ สุภสร (ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)
11.00 – 12.00 น.           การเสวนาพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้าน SMEs ไทย 
                                        ในหัวข้อ “การผสานเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ”
12.00 – 13.00 น.           รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น.           การบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ในหัวข้อ “แนวทางการประยุกต์วัฒนธรรม
                                        สู่การสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ กรณีศึกษาญี่ปุ่น เกาหลีใต้”

          *** หมายเหตุ : กำหนดการสัมมนาและวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลง

          สถานที่ : ห้อง Plenary Hall 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-530-9790, 084-009-3778 โทรสาร 02-530-9791 หรือส่ง Email มาที่ seminar.tu@gmail.com 
          ด่วน !! รับจำนวนจำกัด 5 ท่าน / หน่วยงานเท่านั้น









--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/
http://chirpcity.com/bangkok/3

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

ข่าวกิจกรรมและหนังสือจากเว็บไซต์สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา


 
 

 
จาก: <publishers@suan-spirit.com>
วันที่: 4 เมษายน 2553, 17:18
หัวเรื่อง: ข่าวกิจกรรมและหนังสือจากเว็บไซต์สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา
ถึง: 106432@customs.go.th


ข่าวกิจกรรมและหนังสือจากเว็บไซต์สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา
 
.............................................................................................................................
กิจกรรมใหม่
 
อากาศก็ร้อน...
การเมืองก็ร้อน...
ลองไปเดินตากแอร์เย็นๆ
หาขุมทรัพย์ทางปัญญามาอ่านกันดีไหมคะ 
..............................
 
 
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๘ และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ ๘
(Bangkok International Book Fair 2010)
 
สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เรียนเชิญนักอ่านทุกเพศทุกวัยเลือกซื้อหนังสือใหม่ราคาพิเศษ
ที่บูธ P14 โซน C1 (ชั้นล่าง)
 
วันที่ ๒๖ มีนาคม – ๖ เมษายน ๒๕๕๓
เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
 

.............................................................................................................................
หนังสือออกใหม่
 
 
จิตตปัญญาศึกษา
การเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่
 
“ความดีงามนั้น เปรียบประดุจสุคนธาที่จะโปรยปรายผู้อื่น โดยที่ตนเองมิได้สัมผัสกลิ่นหอมนั้นย่อมม่มี”

การทำงานเพื่อยกระดับจิตใจของผู้อื่นก็เช่นกัน ผู้ทำงานนั้นต้องฝึกจิต สร้างคุณค่าชีวิตของตนไปพร้อมกันด้วย
ผู้ที่ให้ คือผู้ที่ได้ คนที่คิดแต่จะได้ คือคนที่ไม่มีอะไรเลย
 
..............................
 
 
เธอเห็นสีสันในดวงตาฉันไหม
เรื่องเล่าของจิตรกรหนุ่มผู้ก้าวข้ามสู่พรมแดนแห่งศิลปะบำบัด
 
“บางสิ่งที่ผู้คนได้เคยทำหล่นหายจากหัวใจของตัวเอง และหลงลืมมันไปแล้ว
ศิลปะมักค้นหามันจนพบ และส่งคืนให้แก่เราผู้เป็นเจ้าของทุกครั้งไป”
 
..............................
 
 
กลลวง
ชีวิตและคำสอนของมหาสิทธานาโรปะ
(Illusion’s Game: the life and teaching of Naropa)

 
“เจ้าจะพบคุรุได้อย่างไร
หากในหลักธรรมแห่งมหากรุณา
เจ้าไม่ตีกะโหลกแห่งความยึดมั่นในอัตตาให้แตกสลาย
ด้วยไม้ตะพดแห่งสุญญตา
และอัตตาที่ไร้แก่นสาร”
 
 
.............................................................................................................................

ผู้ติดตาม